all about public relations

CONTENT

​ห้องเรียนไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0

วันที่: 2 พฤศจิกายน 2559
บทความประชาสัมพันธ์ - เมื่อรัฐบาลประกาศทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ Value-Based Economy ภายใต้โมเดลที่เรียกว่า “ไทยแลนด์ 4.0” สิ่งที่เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ “เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

นวัตกรรมต่างๆ จะถูกนำไปใช้ใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแรงงาน ทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่สูงขึ้น นั่นแสดงว่าการที่โมเดลไทยแลนด์ 4.0 จะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ ขีดความสามารถความรู้ ของทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องได้รับการยกระดับขึ้นเป็นสิ่งแรก การเปลี่ยนแปลงของวงการการศึกษาจึงต้อง เกิดขึ้นในทันที และแน่นอน “เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน
           
แล้วเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทนั้น จะสร้างความแตกต่างในด้านใด เซอร์เคน โรบินสัน ศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำมหาวิทยาลัยวอร์ริค ประเทศอังกฤษ กล่าวไว้ว่า “ความท้าทายสำหรับการเปลี่ยน แปลงคือการถอยห่างจากระบบการศึกษาที่มีครูเป็นศูนย์กลาง และเปิดทางให้นักเรียนได้ค้นหา ค้นพบ และ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนสติปัญญาเฉพาะบุคคลของนักเรียนแต่ละคน” ซึ่งสอดคล้องกับ Roadmap การพัฒนาการศึกษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือที่โดยรวมเรียกว่า STEM Education ที่ต้องการให้เกิดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เน้นการพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงบวก เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์และแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงโครงการ “สมาร์ทคลาสรูม” ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เน้นให้นักเรียนเข้าถึงความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนได้อย่างรวดเร็ว สร้างลักษณะการเรียนรู้ ด้วยการค้นหาคำตอบจากภายนอกห้องเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
           
หนึ่งในนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนบรรยากาศภายในชั้นเรียน และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน กระตุ้นให้การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้นักเรียนกล้าแสดงออก ก็คือ โปรเจ็กเตอร์แบบอินเตอร์แอคทีฟ

เมื่อถามนายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เกี่ยวกับนวัตกรรม โปรเจ็กเตอร์แบบอินเตอร์แอคทีฟ ว่ามีบทบาทกับการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างไร            
           
นายยรรยง อธิบายว่า “เอปสันเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โปรเจ็กเตอร์รายใหญ่สุดของโลก เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยนานกว่า 25 ปี และมีลูกค้าองค์กรที่ติดตั้งโปรเจ็กเตอร์ของเอปสันจำนวนมาก แต่ตลาดที่สำคัญที่สุดคือตลาดการศึกษา ปัจจุบันโรงเรียนและมหาวิทยาลัยใช้โปรเจ็กเตอร์เป็นสื่อการเรียน การสอนประจำวันกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในอนาคตอันใกล้ อินเตอร์แอคทีฟโปรเจ็กเตอร์จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย สาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในชีวิต ประจำวันและที่โรงเรียน เพื่อเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กล้าแสดงออก กล้านำเสนอข้อมูลที่ตัวเอง ค้นคว้ามาในชั้นเรียน และแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดกันระหว่างนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้กำกับแนะนำ”
           
“เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมาส่งเสริมการศึกษาไทย จะไม่ใช่แค่เครื่องมือสนับสนุนการสอนหรือ อำนวยความสะดวกให้กับคุณครูเท่านั้นอีกต่อไป แต่จะต้องสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนักเรียนได้ อินเตอร์แอคทีฟโปรเจ็กเตอร์สามารถสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมการเรียนรู้  ที่กระตุ้นความสนใจของนักเรียน และสร้างจังหวะการเรียนการสอนที่ไหลลื่นและตื่นเต้น เหมาะอย่างยิ่งกับคน เจเนอเรชั่น Y และ Z”

รูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนในชั้นเรียนแต่ละวัน จะเริ่มต้นด้วยการที่นักเรียนผลัดกันออกมาหน้าชั้น นำเสนอรายงานผ่านทางหน้าจอที่เป็นเหมือนกระดานวาดภาพ ในขณะที่ครูและนักเรียนสามารถเขียนคอมเม้นท์ เพิ่มเติมลงไปบนจอระหว่างการพรีเซนต์รายงาน โดยใช้นิ้วหรือปากกาอินเตอร์แอคทีฟอย่างอิสระ ทุกข้อความหรือ ทุกภาพที่เขียนขึ้นโดยผู้มีส่วนร่วม สามารถไปปรากฏบนหน้าจอ และสามารถสั่งพิมพ์ออกมาได้ หรือแม้แต่บันทึก เก็บไว้เพื่อทำการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังได้
             
“อินเตอร์แอคทีฟโปรเจ็กเตอร์ของเอปสันหนึ่งเครื่อง สามารถเชื่อมต่อไร้สายกับโน้ตบุค สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือสมาร์ทดีไวซ์อื่นๆ ได้มากถึง 50 เครื่อง กลายเป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ของครูเป็นแม่ข่าย ทำหน้าที่เสมือนวิทยากร ยิ่งไปกว่านั้น ครูยังสามารถนำเนื้อหาจากอุปกรณ์ของตัวเองมากถึง 4 เครื่อง ขึ้นหน้าจอพร้อมกันได้ นักเรียนจึงสามารถเรียนรู้ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ได้พร้อมกันในทันที ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายหรือหารือกันในชั้นเรียน”
           
“ห้องเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะมุ่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ประเทศต่อไป ห้องเรียนจึงต้องสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างครูและเด็กเพื่อการบูรณาการความรู้ เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ตลอดเวลาเพื่อการเข้าถึงข้อมูลมีเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สร้างบรรยกาศสนุกสนาน และกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์ เอปสันเชื่อว่ามีเพียงระบบการศึกษาที่สามารถใช้เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของโลกอนาคตเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ อินเตอร์แอคทีฟโปรเจ็กเตอร์ของเอปสัน จะมีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนในชั้นเรียนอย่างแน่นอน รวมถึงจะช่วยพัฒนาแรงงานรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพกว่า พร้อมรับมือความท้าทายจากโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา” นายยรรยง กล่าวทิ้งท้าย
            
ABOUT US
We are a local public relations agency that specializes in applying strategic and creative communications activity to promote and strengthen the positive stories of our clients.  
 
We partner with both established and emerging brands, corporations and startups, government organizations and civil-society groups, and others to help them define and achieve their strategic PR goals.
 
It's all about PR and it's all about results.

Please do get in touch.